Anakin Studio
  • หน้าแรก
  • เพ็กเกจ
  • เริ่มทำเว็บ
  • บทความ
    • Marketing
    • WordPress
    • Social
    • Web Hosting
  • ผลงาน
    • เว็บองค์กร บริษัท
    • เว็บไซต์สถานศึกษา
    • เว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์
    • เว็บไซต์รีสอร์ท ท่องเที่ยว
  • ติดต่อ
ใบเสนอราคา
Web Hosting

โดเมนเนม (Domain Name) คืออะไร ทำความรู้จักชื่อโดเมนเนม

โดเมนเนม (Domain Name) คืออะไร ทำความรู้จักชื่อโดเมนเนม
Web Hosting

Domain Name หรือ ชื่อ โดเมนเนม คืออะไร วันนีัเราจะมาทำความรู้จักกัน เป็นชื่อที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอ้างถึง server ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของข้อมูลซึ่งกระจายอยู่ใน ระบบอินเตอร์เน็ต

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

Toggle
  • ประเภทของชื่อ โดเมนเนม
  • องค์ประกอบของชื่อโดเมน
  • สิ่งที่ควรรู้ก่อนจดโดเมน
  • การต่ออายุโดเมน
  • การย้ายโดเมน

ผ่านทางเว็บเบราเซอร์ (web brownser) เช่น Google Chrome , IE7, Firefox, Safari เป็นต้น ในความเป็นจริง การอ้างถึง server แต่ละเครื่องนั้น ผู้ใช้ล้วนอาศัยการสื่อสารด้วยกันเองระหว่างคอมพิวเตอร์ ต่อคอมพิวเตอร์ (หรือระหว่างเซิฟเวอร์ต่อเซิฟเวอร์) ซึ่งอ้างถึงกันด้วยชุดตัวเลข IP (ex. 192.168.34.65) ดังนั้นชื่อโดเมนที่ผู้ใช้อ้างถึงเวลาต้องการเข้าเว็บไซต์จะมีการอ้างต่อไป ยังตัวเลข IP ที่ชื่อโดเมนนั้น ๆในระบบโดเมน (DNS) กำกับอยู่อีกที

ประเภทของชื่อ โดเมนเนม

  • ชื่อโดเมนที่ใช้ตัวอักษร ASCII Character ซึ่งเป็นอักขระลาติน (ตัวอักษรภาษาอังกฤษ)
  • ชื่อ โดเมนที่ใช้ตัวอักขระท้องถิ่น (Internationalized Domain Name) ซึ่งจะมีชุดตัวอักษรที่ใช้ในโดเมนเนมรูปลักษณ์แตกต่าง กันออกไปตามอักขระท้องถิ่นของชาติต่างๆ

องค์ประกอบของชื่อโดเมน

ในการพิมพ์ชื่อโดเมนโดยทั่วไปจะเริ่มต้นด้วย www ซึ่งเป็นเข้าสู่ระบบโดยการอ้างถึงเอกสารแบบ Hypertext จากนั้นจึงคั่นด้วยจุดและตามด้วยชื่อโดเมน

โดเมนเนม (Domain Name) คืออะไร

ในแต่ละชื่อโดเมนเนมจะประกอบด้วยชุดตัวอักษร ตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไปที่คั่นด้วยจุด (dot) ซึ่งมีการเรียกแต่ละส่วนของชุดตัวอักษร ในแต่ละชื่อเต็มของโดเมนหนึ่ง ๆ เป็นลำดับ ๆ ไปดังนี้

โดเมนระดับบนสุด

  • ส่วนขวาสุด เรียกว่า โดเมนระดับบนสุด (Top-Level Domain) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะปรากฎในทุก ๆ ชื่อโดเมน โดเมนในระดับนี้ยังแบ่งย่อยออกไปเป็นอีกสองประเภทตามลักษณะการบริหารจัดการ และดูแลทรัพยากรโดเมนของ ICANN ได้แก่ 
    • โดเมนระดับบนสุดหมวดทั่วไป (Generic Top-Level Domain: gTLD)
    • โดเมนระดับบนสุดหมวดรหัสประเทศ (Country-Code Top-Level Domain: ccTLD)

โดเมนระดับที่สอง

  • ส่วนถัดจากขวาสุดเข้ามาลำดับที่ 1 เรียกว่า โดเมนลำดับที่สอง (Second-Level Domain) โดยทั่วไปมีการเลือกใช้ทั้งในแบบเป็นชื่อเฉพาะเจาะจงของเว็บไซต์หรือแหล่ง ข้อมูลที่อ้างถึงนั้น ๆ เลย และในแบบที่ใช้ระบุลักษณะ
    หรือกลุ่มของชื่อโดเมนนั้นไว้อีกชั้นหนึ่งก่อนที่จะระบุชื่อที่เจาะจงมากขึ้นในโดเมนลำดับถัดๆไป

โดเมนระดับที่สาม

  • ส่วนถัดจากขวาสุดเข้ามาลำดับที่ 2 เรียกว่า โดเมนลำดับที่สาม (Third-Level Domain) ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นส่วนสุดท้ายและใช้ระบุอย่างเฉพาะเจาะจงถึงเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลนั้น ๆ

โดเมนระดับถัดๆมา

  • ส่วนถัดจากขวาสุดลำดับที่ 3 และลำดับถัด ๆ
    เรียกว่าโดเมนลำดับที่ 4 ลำดับที่ 5 หรือลำดับถัด ๆ ไป เป็นการแบ่งส่วนของชื่อโดเมน ที่แยกย่อยลงไป

สิ่งที่ควรรู้ก่อนจดโดเมน

  • ควรคัดสรรเลือกชื่อโดเมนก่อนตัดสินใจจดชื่อโดเมนครับ เพราะเมื่อ จดชื่อโดเมนแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชื่อโดเมนที่จดไปแล้วได้ ต้องจดใหม่ ก็คือเสียเงินจดโดเมนเพิ่มอีก 1 โดเมน
  • เลือกผู้ให้บริการจดโดเมนที่เชื่อถือได้ เพราะผู้ดูแลโดเมนให้คุณ จะต้องเป็นผู้ต่ออายุโดเมนให้เมื่อโดเมนหมดอายุ นอกจากนี้ เค้ายังสามารถเข้าไปจัดการแก้ไขโดเมนของคุณได้เช่นกัน
  • ผู้ให้บริการ ควรจดชื่อโดเมนโดยใช้ชื่อคุณเป็นเจ้าของโดเมน 100% ไม่เช่นนั้นคุณจะไม่สามารถจัดการโดเมนของคุณเองได้ ซึ่งอาจเกิดปัญหา เมื่อคุณต้องการเปลี่ยนผู้ดูแลโดเมนของคุณเป็นเจ้าอื่นครับ (การเปลี่ยนผู้ดูแลโดเมน ก็คือ การย้ายโดเมน หรือ Transfer Domain) ทั้งนี้ คุณควรเก็บ Username และ Password สำหรับโดเมนไว้เป็นความลับ หากคุณจ้างผู้อื่นทำเว็บไซต์ ให้แค่ Username และ Password สำหรับ FTP ก็พอครับ
  • ในการจดโดเมน ต้องใช้ข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของโดเมนคือ ชื่อ นามสกุล, ที่อยู่, รหัสไปรษณีย์, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์ ทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งแนะนำให้กรอกข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วนครับ หากคุณต้องการทราบว่า เจ้าของโดเมนคือใคร สามารถเช็คได้ที่เว็บไซต์ http://www.whois.com จะปรากฏรายละเอียดเจ้าของโดเมน หากคุณเป็นเจ้าของโดเมนแล้ว และไม่ต้องการเปิดเผยรายละเอียดในส่วนนี้ สามารถแจ้งผู้ให้บริการให้ปกปิดข้อมูลส่วนนี้ได้ครับ

หลังจากจดโดเมน
อย่าลืมเข้าไปเช็คว่าโดเมนนั้นเป็นของคุณ 100% หรือไม่นะครับ โดยสังเกตุจากรายละเอียด whois และสังเกตุว่า Administrative Contect เป็นชื่อและที่อยู่ของคุณหรือไม่

การต่ออายุโดเมน

โดยปกติจะมี อีเมลแจ้งก่อนโดเมนจะหมดอายุประมาณ 45 วัน ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของโดเมน ควรหมั่นเช็คอีเมล หรือ อีเมลที่ใช้สำหรับสมัครจดโดเมนนั้น ควรเป็นอีเมลที่ใช้อยู่ประจำ เพื่อที่จะไม่พลาดการต่ออายุโดเมน
โดยการต่ออายุโดเมน ควรแจ้งไปยังผู้ให้บริการที่ดูแลให้ต่ออายุโดเมนให้ครับ หากคุณพลาดต่ออายุโดเมน สามารถต่ออายุได้ภายใน 45 วันหลังจากวันหมดอายุ หากเกินนั้นบางโดเมนอาจถูกลบ กลับมาให้ทำการจดโดเมนใหม่ได้ แต่ส่วนใหญ่จะถูกผู้ให้บริการขายโดเมนซื้อไว้ ถ้าต้องการซื้อคืน จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงแนะนำว่า อย่าปล่อยให้โดเมนหมดอายุดีที่สุดครับ

การย้ายโดเมน

การจดโดเมน จะต้องมีผู้ให้บริการเป็นผู้จดโดเมนให้ ซึ่งผู้ให้บริการมีหลายเจ้า หากต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการก็สามารถทำได้ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. ตรวจสอบก่อนว่า โดเมนที่จะย้าย ยังไม่หมดอายุ และ ควรย้ายโดเมนก่อนถึงวันหมดอายุไม่น้อยกว่า 30 วัน และโดเมนนั้นคุณเป็นเจ้าของ 100%
  2. ขอ Transfer Code หรือ Auth Code จากผู้ให้บริการรายเดิม หรือในบางกรณีเจ้าของโดเมน login เข้าไปดูในระบบจัดการโดเมนเองก็ได้ครับ
  3. แจ้งชื่อโดเมนที่ต้องการย้าย และ Transfer Code ไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ทำการย้าย
  4. หลังจากผู้ให้บริการรายใหม่ดำเนินการย้ายโดเมนให้แล้ว จะมีอีเมลแจ้งมายังเจ้าของโดเมน ให้คลิก Approve คำขอย้ายโดเมนครับ
  5. การดำเนินการย้ายโดเมนจะใช้เวลาประมาณ 5 วัน
  • FacebookShare
  • XShare
  • LINEShare

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Search

  • 8 Payment Gateway ชำระเงินออนไลน์ ใน WordPress Woocommerce
  • ทำไมต้องมีเว็บไซต์ ทำธุรกิจบนโซเชียลก็ดีอยู่แล้ว
  • โฆษณา Googleรับโฆษณา Google ติดหน้าแรกสำหรับธุรกิจ
  • รับทำเว็บไซต์รับทำเว็บไซต์ ในพื้นที่ อมตะซิตี้ ชลบุรี และภาคตะวันออก
  • ไดคัทเส้นผม แบบรวดเร็ว ด้วยPhotoshop ง่ายๆสไตล์ Anakin Studio

Anakin Studio

เลขที่ 1/57 หมู่ 2 ต.หนองกะขะ อ.พานทอง จ.ชลบุรี 20160 โทร. 09-8854-3810

ขอขอบคุณ

ทีมงาน Anakin Studio ยินดีที่ได้มีโอกาส ส่งเสริมธุรกิจของคุณ และขอขอบคุณลูกค้าที่ช่วยแนะนำบอกต่อบริการรับทําเว็บไซต์ให้กับลูกค้าท่านอื่น เราขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
(+66) 09-8854-3810
https://anakinstudio.com
จันทร์ - เสาร์ 09:00 - 18:00 น.

หมวดหมู่

  • Graphic Design (3)
  • Marketing (13)
  • Social (8)
  • Web Hosting (4)
  • Wordpress (10)

เมนู

  • หน้าแรก
  • แพ็กเกจบริการ
  • ผลงานที่ผ่านมา
  • บทความ
  • ติดต่อสอบถาม
Anakin Studio รับทำเว็บไซต์ในราคาประหยัด

ติดตามเรา

Anakin Studio

รับทำเว็บไซต์ในราคาประหยัด รองรับการแสดงผลหลากหลายอุปกรณ์ ปรึกษาการจัดทำเว็บไซต์ฟรี

  • 8 Payment Gateway ชำระเงินออนไลน์ ใน WordPress Woocommerce
  • ทำไมต้องมีเว็บไซต์ ทำธุรกิจบนโซเชียลก็ดีอยู่แล้ว
  • โฆษณา Googleรับโฆษณา Google ติดหน้าแรกสำหรับธุรกิจ