บทความนี้เราจะมาแนะนำให้ผู้ที่สนใจทำเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ ประชาสัมพันธ์หรือรูปแบบอื่นๆ ให้ได้รู้จักกับ โครงสร้างเว็บไซต์ก่อนที่จะไปจ้างทำ เพราะเราจะได้รู้ว่าคอนเซ็ปต์ที่เราจะนำมาทำบนเว็บไซต์ควรวางแบบไหนในรูปแบบไหนจึงจะเหมาะสม น่าใช้ และดึงดูดผู้คนให้เข้าชมเว็บไซต์เรานั่นเอง
ดังนั้นไม่เพียงแต่จะสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาแล้วจะมีผู้คนเข้ามาใช้งาน เว้นแต่ท่านจะเป็นผู้โด่งดังและคนรู้จักในวงกว้าง หากเป็นธุรกิจที่กำลังเริ่มต้นและไม่เป็นที่รู้จักการทำเว็บไซต์ก็จำเป็นที่ต้องทำ SEO ด้วย แต่เราจะไม่ลงลึกถึงเรื่องของการใช้กลยุทธ์ SEO
เราจำเป็นต้องพาท่านมารู้จักกับโครงสร้างของเว็บไซต์ก่อนเป็นอันดับแรกว่าเป็นอย่างไร มีลักษณะแบบไหน ใช้งานอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับสิ่งที่ท่านต้องการ โครงสร้างเว็บไซต์หน้าตาแบบไหนเราไปดูกันเลยครับ
โครงสร้างเว็บ website (เว็บไซต์)
โครงสร้างของเว็บไซต์ (Website Structure) เรียกว่าการจัดการข้อมูล รวมถึงองค์ประกอบทั้งหมดของเว็บไซต์ ว่าเรานั้นจะจัดองค์ประกอบต่างๆ ไว้ตรงไหนบ้าง เพื่อให้เหมาะกับคอนเซ็ปต์ของท่าน
- มีรายละเอียดข้อมูลแบบไหน
- เว็บไซต์มีกี่หน้า
- การเชื่อมโยงหน้าเพื่อเข้าถึงข้อมูล ตามลำดับความสำคัญของรายละเอียด
จากข้อความข้างต้นเชื่อว่าผู้อ่านเริ่มมองเห็นภาพบ้างแล้ว แต่เดี่ยวก่อนครับยังไม่จบ เพราะหลักการออกแบบเว็บไซต์จำเป็นต้องออกแบบโดยพิจารณาส่วนประกอบดังนี้
วัตถุประสงค์ โครงสร้างเว็บไซต์
- ประเภทเว็บไซต์
- ขนาดของข้อมูลที่เตรียมจะนำเสนอ
- การจัดวางองค์ประกอบต่างๆ (สำคัญยิ่ง)
โครงสร้างเว็บไซต์จะประกอบไปด้วย 4 รูปแบบดังนี้
- ครงสร้างแบบเรียงลำดับ (Sequential Structure)
- โครงสร้างแบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure)
- โครงสร้างแบบตาราง (Grid Structure)
- โครงสร้างแบบใยแมงมุม (Web Structure)
ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างดังกล่าวเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาเพื่อให้การจัดวางโครงสร้างเหมาะกับงานของท่านนั่นเองครับ
รูปแบบเว็บไซต์
รูปแบบเว็บไซต์จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้
- Static website เป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาด้วยภาษา HTML
- Dynamic website เป็นเว็บไซต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรืออัปเดตข้อมูลอยู่บ่อยๆ
เว็บเพจ เว็บไซต์ โฮมเพจ มีความแตกต่างกันอย่างไร
web page (เว็บเพจ) คือ หน้าข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในรูปแบบของ HTML
website (เว็บไซต์) คือ การนำเว็บเพจหลายๆ หน้ามาประกอบกัน จึงทำให้เกิดเป็นเว็บไซต์ฯ
Home page (โฮมเพจ) คือ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่รวมส่วนต่างๆ ไว้หลายอย่าง เช่น เมนู, เนื้อหา, (ยิ่งออกแบบได้สวยผู้คนที่ยิ่งอยากเข้ามาชมเว็บไซต์ของคุณ) ดังนั้นหากท่านอยากทำเว็บไซต์ ควรพิจารณาหน้าโฮมเพจเป็นสิ่งแรกด้วย อีกทั้งยังสร้างความน่าเชื่อถือ ความั่นใจให้แก่ผู้เข้าชมด้วยครับ
ส่วนประกอบของหน้า web page จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
ส่วนหัวของหน้า (Page Header) คือ เมนูหลัก, ลิงก์, ชื่อเว็บไซต์, Logo (โลโก้)
ส่วนของเนื้อหา (Page Body) คือ เป็นส่วนที่อยู่ตรงกลางของเว็บเพจนั่นเองครับ (ใช้แสดงข้อมูลเนื้อหาของเว็บไซต์)
ส่วนท้ายของหน้า (Page Footer) คือ เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุดของหน้า web page มีไว้เพื่อแสดงข้อมูลเพิ่มเติม ช่องทางการติดต่อเพิ่มเติม ข้อบังคับ ลิขสิทธิ์ และรายละเอียดคำแนะนำต่างๆ ที่ต้องการใส่ลงไปครับ
การออกแบบเว็บไซต์
ในปัจจุบันการออกแบบเว็บไซต์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ และมีลูกเล่นที่แตกต่างกันออกไป โดยเว็บไซต์ได้พัฒนาและแข่งขันกันให้มีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ที่มาพร้อมกับเครื่องมือที่มีอย่างมากมายซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์นั้นมีความล้ำสมัยมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นเราไปดูกันเลยว่าหลักสำคัญในการออกแบบหน้าเว็บไซต์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ…..ดังต่อไปนี้
- การเลือกใช้สี (Color), ฟอนต์ (Font), รูปภาพ (Picture)
- Call to Action ที่สะดวกและใช้งานง่าย
- ความล้ำสมัยสะดวกต่อการใช้งาน (ไม่สับสนครั้งแรกเมื่อได้เข้าชม)
- อัปเดตอยู่เสมอ ความถูกต้องที่สร้างความน่าเชื่อถือ
- คุณภาพของเว็บไซต์ (สำคัญมากเพราะสื่อถึงทุกองค์ประกอบของเว็บไซต์)
- เมนู หรือ Navigation ที่ใช้งานง่าย
- สร้างความโดดเด่นที่ชวนสะดุดตา โดยมีความเป็นเอกลักษณ์
- การออกแบบเว็บไซต์ที่เรียบง่าย และเข้าใจง่าย (ทำยังไงจะออกแบบโดยที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณไม่งงเกี่ยวกับการใช้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้เจอ)
ทั้ง 8 องค์ประกอบนี้ผู้อ่านสามารถนำไปพิจารณาก่อนเริ่มทำเว็บไซต์หรือจ้างทำเว็บไซต์ได้ครับ เพื่อเป็นแนวทางที่ดีให้กับเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 8 องค์ประกอบนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำ SEO ทั้งหมดครับในการสร้างกลยุทธ์ให้เว็บไซต์ของคุณนั้นเป็นที่นิยม
เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนโค้ด
ในส่วนนี้จะเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนโค้ด หากใครที่ใช้ Windows อยู่จะมีโปรแกรมที่ชื่อว่า Notepad ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่ใช้เขียนสำหรับภาษา HTML หรือภาษาอื่นๆ แต่ข้อเสียคือการเขียนโค้ดต่างๆ ต้องเขียนขึ้นเองเท่านั้นครับ ดังนั้นเรามีโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนโค้ดมาให้เลือกใช้ ดังนี้
- Adobe Dreamweaver adobe.com
- Visual Studio Code code.visualstudio.com
- Sublime Text sublimetext.com
- Notepad notepad-plus-plus.org
หวังว่าผู้อ่านจะได้รู้จักกับโครงสร้างของเว็บไซต์แล้วไม่มากก็น้อยเพื่อใช้เป็นแนวทางก่อนเริ่มทำเว็บไซต์ด้วยตนเอง หรือผู้ที่กำลังจะจ้างทำเว็บไซต์ในคอนเซ็ปต์ต่างๆ ตามต้องการครับ หากท่านต้องการคำปรึกษาหรือข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ก่อนทำเว็บไซต์สามารถดูได้ที่ anakinstudio.com หากท่านมีเว็บไซต์เป็นส่วนตัวแล้วอย่าลืมศึกษาเกี่ยวกับ SEO เพื่อใส่กลยุทธ์ให้กับเว็บไซต์ของท่านด้วยนะครับ
“หวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย ถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ”
Cr.seo-winner.com